Main menu
๒. ประวัติ ความเป็นมา และข้อมูลด้านอาคารสถานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครชัยภูมิ
๒.๑ ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัยฯ
วิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครชัยภูมิ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑พฤษภาคม ๒๕๖๔ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙๙หมู่ ๑๔ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ บนเนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๓งาน ๙๒ตารางวา โดยมีนายสำราญ ศรีภาเป็นผู้รับใบอนุญาตนางพยงค์ ศรีภา ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และปัจจุบันมีนายสำราญ ศรีภา ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครชัยภูมิ เป็นโรงเรียนเอกชนตามมาตรา ๑๕ (๑) ประเภทอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งมั่นในความต้องการ ให้ประชาชนในชุมชนแถบบริเวณตำบลนาฝาย อำเภอเมือง และบริเวณใกล้เคียง มีโรงเรียนที่จัดการศึกษาด้านวิชาชีพโดยเฉพาะเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งรอบเช้าเเละรอบบ่าย จำนวน ๕ สาขางานดังนี้
๑. ประเภทวิชาพาณิชยกรรมสาขาพาณิชยกรรมสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชีและการโรงแรม
๒. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสาขาเทคนิคยานยนต์ / สาขางานยานยนต์เเละสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
๒.๒ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนบริเวณสถานศึกษา
สภาพชุมชน
สภาพสังคมของชุมชน เช่น สังคม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม ของชุมชน ฯลฯ
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ สภาพสังคมของชุมชนรอบบริเวณวิทยาลัย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสามสวนและเทศบาลตำบลบ้านแท่น มีการแบ่งแยกออกเป็นหมู่บ้านต่างๆ แต่ละหมู่บ้านมีตัวแทนหมู่บ้านคือผู้ใหญ่บ้าน ประเพณี/วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักและสืบทอดกันมาคือ ประเพณีสงกรานต์ประเพณีบุญบั้งไฟ ฯลฯมีประชากรประมาณ ๑๘,๕๐๐คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ ตำบลสามสวน วัดป่าสันติสุข บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและร้านค้า ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ บุญบั้งไฟ
สภาพเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจของชุมชน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ ฯลฯ อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ เกษตรกรรมได้แก่ ทำนา ปลูกอ้อย สวนยางพารา ข้าวโพด ฯลฯ รายได้ขึ้นอยู่กับการทำเกษตรของแต่ละครอบครัว บางครอบครัวมีพื้นที่ทำการเกษตรมาก รายได้แต่ละปีก็มาก บางครอบครัวมีพื้นที่น้อย มีทุนในการทำน้อย รายได้ต่อปีก็น้อย อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับผลผลิตการเกษตรในแต่ละปีด้วย
สภาพสังคม
สภาพสังคมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นสังคมแบบกึ่งสมัยใหม่ ประชาชนในพื้นที่อพยพไปประกอบอาชีพในชุมชนเมืองมากขึ้น จะคงเหลืออยู่เฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ยังดำรงอยู่ซึ่งสภาพบ้านเรือนสมัยเก่า วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นต่างๆก็ยังคงอยู่บ้าง เด็กเยาวชนส่วนใหญ่ จะอาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายายเพราะผู้ปกครองจะไปประกอบอาชีพอยู่ต่างจังหวัด